ลูกน้อยฟันขึ้นซี่แรกตอนไหน…และขึ้นครบเมื่อไหร่กันนะ?

การที่ฟันขึ้นชุดแรกก็เป็นอะไรที่บ่งบอกถึงพัฒนาการของเด็กเช่นกัน แต่การขึ้นของฟันจะใช้เวลานานและพัฒนาจนกว่าฟันจะขึ้นครบ ซึ่งในระยะที่ฟันกำลังขึ้นก็มักจะตามมาด้วยปัญหา ลูกเจ็บเหงือก ปวดฟัน หรือรู้สึกไม่สบาย ซึ่งปัญหานี้ตามมาเป็นความลำบากของผู้ปกครองด้วยค่ะ

แล้วอาการที่บ่งบอกว่าลูกฟันกำลังขึ้นเป็นอย่างไร ??

เหงือกบริเวณที่ฟันกำลังจะขึ้นอาจมีอาการบวมแดง หรือพบว่ามีปุ่มสีขาวอยู่บริเวณเหงือกที่จะมีฟันขึ้น ซึ่งเด็กจะรู้สึกอยากเคี้ยวหรืออยากกัดสิ่งของ โดยทั่วไปเรามักจะเรียกอาการนี้ว่า “อาการคันเหงือก” โดยเด็กจะมีอาการคันเหงือกนานประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ และเมื่อขอบฟันเริ่มดันเหงือก เหงือกก็จะแยกออกเพื่อให้ฟันโผล่ขึ้นมาได้ ซึ่งมีผลทำให้ลูกน้อยรู้สึกเจ็บและมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป  เช่น

  • ลูกน้อยจะชอบเอามือเข้าปาก
  • มีน้ำลายมากกว่าปกติจนบางครั้งไหลย้อยออกมานอกปาก
  • ในเวลากลางคืนจะตื่นบ่อย
  • สามารถรับประทานอาหารได้น้อยลง
  • หรือดูดนมน้อยลง  
  • ในเด็กบางรายหลายคนก็มีไข้ร่วมด้วย 

ซึ่งวิธีบรรเทาอาการก็ไม่ยุ่งยากเลยค่ะ เพียงแค่ใช้ยางกัดสำหรับเด็กเพื่อลดความปวด ซึ่งสามารถเลือกยางกัดที่มีผิวสัมผัสต่างๆ หรือสามารถเป็นของเล่นในตัวได้ เช่นมีเสียงเพลง มีตัวการ์ตูนด้านใน เพราะจะช่วยเบี่ยงเบนอาการเจ็บปวดของเด็กได้นั่นเองค่ะ

 

ซึ่งฟันชุดแรกของลูกน้อยที่ขึ้น เรียกว่า ฟันน้ำนม โดยฟันชุดนี้จะเริ่มขึ้นเมื่อลูกมีอายุ 6 เดือน และจะเริ่มทยอยขึ้นจนครบเมื่ออายุ 2 ขวบ แต่สำหรับเด็กบางคนก็พบได้บ่อยครั้งว่าฟันน้ำนมชุดแรกขึ้นช้า ซึ่งก็ไม่ใช่ภาวะผิดปกติแต่อย่างใด

แล้วฟันน้ำนมของลูกเริ่มขึ้นจากตรงไหน และช่วงอายุใดบ้างนะ?

  • ช่วง 6 เดือน : ฟันจะเริ่มขึ้นที่ด้านล่าง 2 ซี่ และด้านบน 2 ซี่ โดยจะขึ้นบริเวณตรงกลาง
  • ช่วง 8 เดือน : ฟันจะขึ้นที่ด้านข้าง และตรงกลางด้านบน
  • ช่วง 10 เดือน : ฟันจะขึ้นด้านข้าง ตรงกลางทั้งด้านล่างและด้านบน ซึ่งในระยะนี้ฟันกัดจะเริ่มขึ้นเกือบเต็มปาก
  • ช่วง 14 เดือน : ฟันกราม ทั้งข้างล่างและข้างบน
  • ช่วง 18 เดือน : ฟันสำหรับกัดเคี้ยว ที่อยู่ใกล้ฟันกรามจะเริ่มขึ้น
  • ช่วง 24 เดือน : ในที่เด็กๆ ใกล้อายุ 2 ขวบ ฟันก็จะเริ่มขึ้นเต็มปากทั้งหมดแล้วค่ะ


แต่ทั้งนี้ก็มีการพบว่าในเด็กบางรายนั้นมีฟันน้ำนมขึ้นช้า ซึ่งก็ไม่ควรขึ้นช้าเกิน 12 เดือน นะคะ ถ้าหากผู้ปกครองพบว่าฟันของลูกขึ้นช้าเกินไปควรพาลูกเข้ารับการปรึกษากับทันตแพทย์เด็กจะดีที่สุดค่ะ

สำหรับบทความในครั้งหน้า “อบอุ่น” ขอแอบกระซิบว่า อาจจะมีเคล็ดลับในการดูแลสุขภาพฟันของลูกน้อยมาบอกคุณแม่กันล่ะ! ยังไงก็ลืมติดตามกันนะคะ สำหรับครั้งนี้ต้องขอบอกลากันไปก่อนแล้ว สวัสดีค่ะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก :Mamaexpert Editorial Team

Comments